ตลาดแรงงานในปัจจุบันนั้น ได้มีคน Gen Z เข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แต่ทั้งนี้ Gen Z ถือว่าเป็นรุ่นที่อยู่ระหว่างจุดเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะไปสู่ Gen Alpha หรือ Beta ในอนาคต ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีความคิด ทัศนคติต่อการทำงานที่แตกต่างกว่าคนรุ่นก่อน ๆ
ด้วยความคิด ทัศนคติการทำงานที่แตกต่างนี่เอง ที่ทำให้องค์กรต้องพร้อมปรับตัวด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับคน Gen Z ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการทำความเข้าใจแนวคิดของ Gen Z และวิธีการบริหารคนขององค์กรให้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้อยากเข้ามาร่วมงาน
รู้จักกับแนวคิดของคน Gen Z
สำหรับคนที่เป็น Gen Z นั้น จะเป็นกลุ่มที่เกิดในช่วงปี พ.ศ.2540 – 2552 โดยจะเป็นคนที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย นั่นจึงทำให้คน Gen Z มีการเรียนรู็ การปรับตัวที่รวดเร็ว มีลักษณนิสัยคือ เปิดรับความแตกต่าง เปิดกว้างทางความคิด สามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ชอบการรอคอย และต้องการคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลของทุกสิ่ง
สำหรับรายละเอียดลักษณะนิสัยและความสนใจของคน Gen Z มีดังนี้
- มีความสนใจใฝ่เรียนรู้: คนกลุ่มนี้ความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาความรู้ในโลกออนไลน์หรือการเข้าคอร์สฝึกสกิลความสามารถอื่น ๆ
- มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล: เนื่องด้วยคน Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ทำให้คนกลุ่มนี้มีความถนัดเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Social Network รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ
- กล้าคิด กล้าแสดงออก: คน Gen Z จะมีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าตัดสินใจในสิ่งต่าง ๆ
- มีความเปิดกว้าง: Gen Z จะมีการเปิดกว้างความเป็นปัจเจก ไม่ว่าจะเป็นความคิด วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ไปจนถึงเพศสภาพที่แตกต่าง
- ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม: มีความใส่ใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และพร้อมเต็มใจที่จะร่วมกิจกรรมที่เป็นการลดโลกร้อน
ความคาดหวัง และทัศนคติการทำงานของคน Gen Z
จากผลสำรวจพบว่าเมื่อคน Gen Z ได้เข้าสู่ตลาดแรงงาน คนรุ่นนี้จะมาพร้อมแนวคิดและทัศนคติการทำงานที่คล้ายกับคนรุ่นมิลเลนเนียล ทีค่อนข้างคาดหวังความชัดเจนจากการทำงาน และหวังเงินที่สูง ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิต แต่วิธีคิดของ Gen Z นั้น จะมีความคาดหวังที่มากกว่าในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- การทำงานที่ส่งเสริม Work-Life-Balance: คน Gen Z จะมองว่างานที่ดีจะต้องสามารถช่วยส่งเสริมต่อ Work-Life-Balance ได้ และมองเรื่องเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นปัจจัยที่รองลงมา เนื่องจากคน Gen Z มองว่างานที่ดี สามารถช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ จะต้องไม่ใช่งานที่หนักจนเกินไป คนเหล่านี้จะมีมุมมองของการทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้น ๆ และสามารถทุ่มเทการทำงานให้สำเร็จได้ในเวลาไม่นาน
- หัวหน้างานที่ใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและเปิดกว้างทางความคิด: หัวหน้างานที่คน Gen Z อย่างร่วมงาน จะต้องมีความคิดที่ให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการแสดงออกถึงการลดโลกร้อน และต้องเป็นคนที่เปิดกว้าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องศาสนา สีผิว เพศสภาพ ไปจนถึงแนวคิดของคน Gen Z ที่มองว่าการทำงานเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของชีวิต ดังนั้นคนรุ่นนี้จะไม่ทำงานหนักจนถึงกับไม่มีเวลาในการใช้ชีวิต
- ออฟฟิศที่มีความ Hybrid: รูปแบบของออฟฟิศที่ชาว Gen Z ต้องการคือการทำงานที่มีความเป็น Hybrid สามารถทำงานจากที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ โดยที่งานยังสามารถได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการทำงานในออฟฟิศ หรืออาจดีกว่า
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานที่บ้าน ให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้ที่บทความ: ทำงานที่บ้าน อย่างไร? ให้พนักงาน Productive และพร้อมพาองค์กรเติบโต

4 เทคนิคการบริหารคนทำงาน ให้ตอบโจทย์กับคน Gen Z
จากที่กล่าวมาข้างต้นถึงมุมมอง ความคิดการทำงานของคน Gen Z หากองค์กรต้องการปรับตัวให้พร้อมทำงานกับคนรุ่นนี้ เพื่อสร้างความเติบโตต่อองค์กรในอนาคต สามารถปรับเปลี่ยนการบริหารคนทำงานตามปัจจัยต่อไปนี้
1.การทำงานที่ทันสมัย เข้ากับยุคดิจิทัล
เพราะเดิมทีนั้น Gen Z เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนั้นคนรุ่นนี้จึงมีความถนัดในการปรับตัวต่อเทคโนโลยีที่รวดเร็วตามไปด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คน Gen Z มักชื่นชอบองค์กรที่พร้อมปรับตัวต่อยุคดิจิทัล เช่น เครื่องมือการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว มีระบบการบริหารคนทำงานแบบออนไลน์ที่ทำได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน
ทั้งนี้นอกจากการปรับองค์กรให้เข้ากับยุคดิจิทัลจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับคน Gen Z ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ส่งเสริมต่อการทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในการเป็นองค์กรที่ทันสมัย ช่วยสร้างความเติบโตของธุรกิจ
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ถึงบทบาทระบบ HRM ที่มีต่อการพัฒนาองค์กร
ในบทความ:สัญญาณเตือน ว่าองค์กรของคุณควรบริหารบุคลากรด้วยระบบ HRM
2.ความชัดเจนในอาชีพและโอกาสเติบโต
คน Gen Z จะเป็นกลุ่มคนที่มองว่าตัวเองมีความเป็นเจ้าของงานที่รับผิดชอบหรือมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ ทำให้จำนวน 1 ใน 5 ของคน Gen Z มีความต้องการที่จะร่วมงานกับเจ้านายที่มองเห็นถึงความสำคัญของ Upskill และ Reskill เพื่อเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในทักษะต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิผลที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งยังเป็นการสร้างความเติบโตในอาชีพการงานของพนักงาน ให้พร้อมทุ่มเทความรู้ความสามารถต่องานที่ทำมากที่สุด
การที่องค์กรพร้อมเปิดรับการสนับสนุนความรู้ใหม่ ๆ ของพนักงานนั้น นอกจากจะเป็นการดึงดูดกลุ่ม Gen Z ให้อยากมาร่วมงานและอยู่กับองค์กรแล้ว ยังช่วยให้องค์กรสามารถผลิตคนเก่ง มีความสามารถที่หลากหลายมาสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรได้ โดยปัจจุบันได้มีระบบ HRM ที่ทำหน้าที่ช่วยออกแบบระบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานให้มีความรู้ความสามารถมาต่อยอดในการทำงาน
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ความสำคัญของ HRD และมีบทบาทหน้าที่ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง
ในบทความ: พัฒนาศักยภาพพนักงานในองค์กร ด้วยระบบ HRD
3.เปิดกว้างทางความคิด
การทำงานของคน Gen Z คือจะเป็นคนที่ชอบแสดงความคิดเห็นและนำเสนอความรู้ความสามารถที่มีต่องานออกมามากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้โดยจะอยากรู้ Feedback ต่าง ๆ จากองค์กร ดังนั้นรูปแบบการสอนงานของคน Gen Z จึงไม่ควรเป็นแบบ One Way Communication ที่เพียงแต่ส่งต่องาน แต่ต้องเปิดโอกาสต่อการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ด้วย
ทั้งนี้การบริหารคนเปิดกว้างทางความคิดของพนักงาน โดยไม่มีอคติเรื่องวัยหรือประสบการณ์ จะช่วยให้พนักงานมองเห็นว่าองค์กรนั้นเปิดใจที่จะให้ความสำคัญต่อทุกความคิดของพนักงาน ทำให้พนักงานอยากทุ่มเททำงานให้องค์กรอย่างเต็มที่ นอกจากจะช่วยให้องค์กรได้แนวคิดใหม่ ๆ ต่อการทำงาน ที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจพฤติกรรม ความสนใจของคนรุ่นใหม่ เพื่อนำไปต่อยอดในการทำธุรกิจได้
4.Hybrid Work และ Work From Home
หนึ่งในเรื่องที่คน Gen Z ให้ความสำคัญมาก ๆ ต่อการทำงานคือเรื่องของ Work-Life-Balance โดยคนกลุ่มนี้จะมองว่าการทำงานนั้น ผลงานที่ออกมา มีความสำคัญมากกว่าเวลาชั่วโมงทำงาน ดังนั้นคน Gen Z จึงไม่ได้เชื่อในการทำงานแบบเข้างานเช้า-เลิกงานเย็นเหมือนเมื่อก่อน แต่จะเชื่อมั่นใจการทำงานแบบ Hybrid หรือ Work From Home ที่สามารถทำงานที่ไหนเวลาไหนก็ได้ โดยที่การทำงานไม่รบกวนเวลาส่วนตัว และยังได้ผลงานที่มีคุณภาพ
ทั้งนี้หลังจากผลกระทบจากโรคระบาด โควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ ออกไป รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้เห็นได้ว่าองค์กรสามารถเลือกใช้วิธีการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการทำงานแบบเข้าออฟฟิศและ Work From Home ได้ โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการทำงานของพนักงาน โดยที่ฝั่งพนักงานเองก็ยังรู้สึกอิสระ มี Work-Life-Balance มากขึ้น
สรุป
โดยสรุปแล้ว การบริหารคนทำงานให้เหมาะสมกับคน Gen Z องค์กรจะต้องเข้าใจถึงทัศนคติ และมุมมองการทำงานของคนกลุ่มนี้ โดยจะต้องมองให้ความสำคัญในการสร้าง Work-Life-Balance และการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งหากองค์กรสามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานแบบ Gen Z ได้ จะช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูคนรุ่นใหม่ที่เก่ง มีความสามารถเข้ามาร่วมงาน และพัฒนาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้
หากองค์กรที่ต้องการตัวช่วยในการเปลี่ยนองค์กรของคุณให้ทันสมัย พร้อมปรับตัวต่อทุกการเปลี่ยนแปลง ขอแนะนำระบบ ATHM ที่เรามีบริการตัวช่วย HR แบบครบ จบ ไม่ว่าจะเป็น HRM และ HRD ที่สามารถปรับแต่งได้เหมาะสมตอบโจทย์ต่อองค์กรของคุณ
อ้างอิง:
waymagazine
happily.ai
